วัสดุอะคูสติก

                                        วัสดุอะคูสติก

BASIC ACOUSTIC
(ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุอะคูสติก)

      วัสดุอะคูสติกเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดปัญหาเสียง เช่น เสียงก้อง เสียงสะท้อน เสียงลอดจากห้องข้างๆ เป็นต้น โดยสามารถแบ่งวัสดุอะคูสติกออกเป็น 3 ประเภทหลักๆดังนี้


      1. Absorbers Materials : เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงภายในห้อง เพื่อช่วยลดปัญหาการสะท้อนของเสียง

      2.Insulation Materials  : เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวน ซึ่งค่าการป้องกันเสียงรบกวนจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและขนาดของวัสดุ

      3.Diffusers Materials  : เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการกระจายเสียง เพื่อช่วยลดพลังงานเสียง และช่วยเพิ่มทิศทางขอเสียงให้กระจายทั่วพื้นที่

      ทั้งนี้ การเลือกใช้วัสดุอะคูสติกแต่ละประเภทจะต้องสอดคล้องกับปัญหาของเสียงที่เกิดขึ้นภายในห้อง หรือภายในสถานที่ต่างๆที่ต้องการควบคุมคุณภาพเสียง โดยที่ตำแหน่งการติดตั้งวัสดุ ขนาดของวัสดุ และความหนาแน่นของวัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อเสียงทั้งหมด ดังนั้นการออกแบบห้องให้มีคุณภาพเสียงดี จะต้องผ่านการคำนวนตามค่ามาตรฐานทางคูสติกที่กำหนดไว้ ห้องแต่ละรูปแบบมีค่ามาตฐานต่างกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป


ค่ามาตรฐานทางอะคูสติก ประกอบด้วย

     NC ( Noise Criterion) คือ  ค่าความเงียบสากลที่ระบุให้ทราบถึงระดับเสียงที่ควรจะเป็นสำหรับห้องแบบต่างๆในแต่ละความถี่ ตามที่ American National Standards Institute (ANSI) กำหนด

     RT60 (Reverberation time) คือ  ค่าเวลาการสะท้อนกลับของเสียงที่คงเหลืออยู่เมื่อต้นเสียงหยุดแล้วหรือค่าหางเสียง ซึ่งค่าเวลาการสะท้อนกลับของเสียงยิ่งน้อยยิ่งดี

     STC (Sound Transmission Class ) คือ ค่าที่บอกถึงระดับการสูญเสียการส่งผ่านของเสียง เป็นค่าที่บอกว่าวัสดุ เช่น ผนัง,กระจก หรือประตู สามารถกั้นการเดินทางผ่านของเสียงได้มากหรือน้อย

     NRC (Noise Reduction Coefficient ) คือ ค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง เป็นค่าทีบอกให้ทราบถึงพลังงานเสียงที่ลดลงเมื่อใช้วัสดุนั้นมาช่วยในการซับเสียง  ซึ่งค่าNRC เป็นค่าที่คำนวณได้จากค่าเฉลี่ยของ SAC ที่ช่วง 250Hz 500Hz 1000Hz และ 2000Hz

     SAC (Sound Absorption Coefficient ) คือ ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนเสียง จะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 ยิ่งมีค่า SAC มาก หรือเข้าใกล้ 1 แสดงให้เห็นว่าวัสดุนั้นสามารถดูดกลืนเสียงได้มาก หรือมีการสะท้อนเสียงออกไปได้น้อย


ACOUSTIC DESIGN  (วิธีการออกแบบอะคูสติกของเสียง)   

       1 . Reduce Sound Transmission

     การป้องกันเสียงรบกวน เพื่อช่วยลดพลังงานของเสียงจากภายนอกห้องไม่ให้เข้ามาภายในห้อง และกั้นเสียงภายในห้องไม่ให้เล็ดลอดออกไปภายนอก โดยการป้องกันเสียงสามารถออกแบบได้ทั้ง ผนังกันเสียง ,กระจกกันเสียงและประตูกันเสียง เป็นต้น โดยค่าการป้องกันเสียงสามารถอ้างอิงได้จากค่า STC

      2. Control Sound Reverberant

    วิธีควบคุมและแก้ไขเสียงสะท้อนภายในห้อง จะต้องอ้างอิงตามการคำนวณค่า Room mode ของห้อง และค่าการสะท้อนของเสียง (RT60) เพื่อนำมาวิเคราะห์และเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงให้มีความเหมาะสม  กับย่านความถี่ที่เป็นปัญหา และวัสดุที่เลือกใช้จะต้องมีค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง (NRC) ที่เหมาะสม